กาแฟ VS ภาวะต่างๆ
|
ข้อกล่าวหา
|
ข้อเท็จจริง
|
โรคกระเพาะอาหาร
|
คาเฟอีนจะไปเพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร อาจทำให้เกิดการระคายเคือง หรือแผลในกระเพาะอาหารอาจกำเริบหรือลุกลามมากขึ้น
|
ยัง
ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าคาเฟอีนแค่ไหนจึงจะส่งผลต่อโรคกระเพาะอาหาร
แต่คาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะอาหารให้หลั่งกรดออกมาเพื่อช่วยย่อยอาหาร
อยู่แล้ว
|
โรคไต
|
คาเฟอีนจะไปกระตุ้นการถ่ายปัสสาวะ ซึ่งก็คือการเพิ่มภาระให้ไตที่ไม่แข็งแรงอยู่แล้ว ให้ยิ่งต้องทำงานหนักขึ้น
|
กาแฟมีคุณสมบัติเป็นยาระบายและยาขับปัสสาวะอย่างอ่อนๆ อยู่แล้ว การดื่มในปริมาณที่มากเกิน 2-3 แก้วต่อวัน อาจสร้างปัญหากับไตได้
|
โรคหัวใจ
|
มีความเชื่อกันว่า ผู้ป่วยหรือผู้ที่เคยมีอาการหัวใจพิบัติ (Heart Attack) ห้ามดื่มกาแฟโดยเด็ดขาด และปัจจุบันก็ยังคงเชื่อเช่นนี้อยู่ในหลายๆ คน
|
ผลการศึกษาในอังกฤษและสหรัฐพบว่า การดื่มกาแฟที่ชงแบบกรอง (Filtered
coffee)
ไม่ได้เป็นสาเหตุทำให้หัวใจเต้มผิดปกติในผู้ที่เคยมีอาการหัวใจพิบัติมาก่อน
แต่เมื่อเราดื่มกาแฟสักถ้วยหัวใจจะเต้นเร็วขึ้น
และความดันโลหิตจะสูงขึ้นเล็กน้อยเป็นปกติ
|
การนอนหลับ
|
สารคาเฟอีนในกาแฟเป็นตัวกระตุ้นให้ตาสว่าง และทำให้สมองตื่นตัว ซึ่งอาจส่งผลต่อการนอนหลับได้
|
แค่
เลี่ยงกาแฟตั้งแต่ช่วงบ่าย ร่างกายจะสามารถปรับสภาวะได้
เนื่องจากคาเฟอีนจะถูกขับออกจากร่างกาย ในรูปแบบของปัสสาวะเป็นส่วนใหญ่
และกระตุ้นให้ตาสว่างเพียง 2-3 ชั่วโมง หลังจากที่ดื่มกาแฟเข้าไปแล้วเท่านั้น
|
โรคซึมเศร้า
|
เพราะ
คาเฟอีนกระตุ้นให้ตาสว่าง
ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีอาการนอนไม่หลับอยู่แล้ว
คาเฟอีนในกาแฟยิ่งกระตุ้นให้ตาสว่าง ก็อาจทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้น
|
การดื่มกาแฟเกินวันละ 4 ถ้วย อาจทำให้ได้รับคาเฟอีนมากเกินไปและอาจส่งผลให้อาการซึมเศร้าแย่ลงได้จริง จึงไม่ควรดื่มชาหรือกาแฟตั้งแต่ช่วงบ่ายเป็นต้นไป
|
อาการปวดศีรษะ
|
ปริมาณคาเฟอีนที่มากเกินไปอาจทำให้ปวดศีรษะ เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของเลือดที่ส่งไปสมอง
การถอนคาเฟอีนอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ปวดศีรษะอย่างรุนแรง กระสับกระส่าย และง่วงนอน
|
การดื่มกาแฟไม่เกิน 2-3 ถ้วยต่อวัน ทำให้ปริมาณคาเฟอีนไม่เป็นโทษต่อร่างกาย การดื่มกาแฟแต่น้อยช่วยแก้อาการปวดศีรษะบ่อยๆ ได้
ไม่ควรเลิกกาแฟโดยทันที ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆ ลดปริมาณการดื่มลง ลดความถี่ในการดื่มด้วย
งาน
วิจัยล่าสุดจากสหรัฐชี้ว่า คาเฟอีนอาจช่วยรักษาอาการปวดศีรษะจากความเครียด
โดยเป็นตัวเร่งให้ยาแก้ปวดชนิดไอบิวโพรเฟนออกฤทธิ์ไวขึ้น
|
อาการปวดหลัง
|
นักดื่มกาแฟหลายคนรู้สึกว่า เมื่อดื่มกาแฟแล้วรู้สึกปวดหลังมากขึ้น
|
หาก
มีอาการปวดหลัง ควรงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
เนื่องจากคาเฟอีนจะไปกระตุ้นให้ปลายเส้นโลหิตฝอยตีบลง
ซึ่งจะทำให้เลือดและสารอาหารต่างๆ
ไหลไปเลี้ยงเนื้อเยื่อของกระดูกสันหลังได้น้อยลง
อาจทำให้หายจากอาการปวดหลังได้ช้าลง
|
วิตกกังวล
|
การ
ได้รับคาเฟอีนในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้กระวนกระวาย
ร่างกายตื่นตัวมากเกินไป โดยเฉพาะคนที่ไวต่อสารคาเฟอีน
อาจทำให้อาการวิตกกังวลแย่ลง
|
ยอม
รับว่าการดื่มกาแฟในปริมาณมากเกินไปส่งผลต่อความวิตกกังวลได้จริง
ผู้ดื่มกาแฟจึงควรสังเกตตัวเองว่า ไวต่อคาเฟอีนแค่ไหน
แล้วค้นหาปริมาณกาแฟที่เหมาะสมกับตนเอง
|
กระดูกพรุน
|
คาเฟอีนในกาแฟมีฤทธิ์ขับแคลเซียมออกจากกระแสโลหิต อาจทำให้ผู้หญิงอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากขึ้น
|
ยอมรับว่าคาเฟอีนในปริมาณมากเกิน 300
มิลลิกรัมต่อวันจะเข้าไปขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม
และเป็นตัวเร่งอันตราการสูญเสียแร่ธาตุจากกระดูกได้ แต่ปริมาณดังกล่าวคือ
เกิน 2-3 แก้วต่อวัน
|
มะเร็งเต้านม
|
ผู้หญิง
มักรู้สึกไม่ดีกับกาแฟมากกว่าผู้ชาย เพราะส่งผลเสียมากกว่า
และยังมีความเชื่อที่บอกต่อๆ กันมาว่า
กาแฟอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมได้
|
นักวิจัยมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ของสถาบันคาโรลินสกา ประเทศสวีเดนได้ศึกษาผู้หญิงชาวสวีเดนจำนวนถึง 60,000 คน ด้วยเวลายาวนานถึง 13 ปี พบว่า กาแฟไม่ได้เป็นความเสี่ยงหนึ่งของโรคร้ายนี้แต่อย่างใด
|
โรคหอบ
|
เป็นอีกหนึ่งความเชื่อที่บอกต่อๆ กันมาว่ากาแฟมีผลต่อโรคหอบเช่นกัน
|
คาเฟอีนในกาแฟจะระงับการตึงเครียดของประสาทสำรอง อันเป็นส่วนที่ทำให้เกิดโรคหอบหากถูกกระตุ้น
|
ละลายไขมัน
|
ยังไม่มีข้อกล่าวหา ว่ากาแฟทำให้อ้วนขึ้น
|
การดื่มกาแฟเล็กน้อยหลังอาหารช่วยให้ไขมันแตกตัว ทำให้น้ำย่อยในกระเพาะและตับอ่อนหลั่งดีขึ้น ช่วยในการเผาผลาญไขมัน
|
ความต้องการทางเพศ
|
คาเฟอีนทำให้ความต้องการทางเพศลดลง
|
ไม่
สามารถหาข้อมูลมายืนยันได้ว่า ข้อกล่าวหานี้จริงหรือไม่จริง
แต่การมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง การเป็นโรคความดันโลหิตสูง
หรือการใช้ยาบางชนิดก็มีผลทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลงได้เช่นกัน
|